หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

แร่โคลัมไบต์-แทนทาไลต์



โคลัมไบต์และแทนทาไลต์
    เป็นธาตุคนละชนิดแต่มักจะพบเกิดร่วมกันเสมอ แร่ที่มีส่วนประกอบของธาตุทั้งสองชนิดนี้มีมากมายหลายชนิด และมักจะมีธาตุไทเทเนียมเกิดร่วมด้วยเช่นกัน เช่น เกิอร่วมในแร่ชนิดรูไทล์และแร่ในตระกูลออกไซด์เชิงซ้อน แร่ที่มีธาตุโคลัมเบียม-แทนทาลัมที่พบมากชนิดหนึ่งในหลายชนิดก็คือ โคลัมไบต์และแทนทาไลต์ ชื่อของแร่ชนิดนี้บางครั้งใช้อย่างสับสน ต้องทำความเข้าใจเสียก่อน โคลัมไบต์เป็นชื่อแร่ ถ้าเป็นชื่อธาตุเรียกโคลัมเบียม (Columbium) พบครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เรียกกันในชื่อโคลัมเบียมตามชื่อเดิม “โคลัมเบีย”ประเทศอังกฤษและประเทศอื่นๆ ในยุโรปมักจะนิยมเรียกธาตุนี้ว่า ไนโอเบียม (Niobium) ส่วนแทนทาไลต์เป็นชื่อแร่ หากเป็นชื่อธาตุเรียกแทนทาลัม (Tantalum) พบครั้งแรกในประเทศสวีเดน มาจากชื่อเทพเจ้า Tantalus ในนิทานกรีกในความหมายที่แร่นี้ละลายในกรดได้ยาก

แหล่งที่พบ
         ไม่พบเกิดเป็นธาตุอิสระในธรรมชาติ  แต่เกิดปนกับไนโอเบียม (Nb) ไทเทเนียม (Ti)  และดีบุก (Sn)  นอกจากนั้นยังอาจจะเกิดรวมกับยูเรเนียม (U)  และทอเรียม (Th)

การถลุงแทนทาลัมและโคลัเบียม
             นำตะกรันดีบุกมาบด  และละลายในกรดผสมระหว่างกรด  HF กับ  H2SO4  แล้วเติมเมธิลไอโซบิวทิลคีโทน (MIBK) เพื่อละลายเอา Ta และ Nb แล้วเติมกรด H2SO4 เจือจาง พบว่า  Nb  ละลายในชั้นของกรด แล้วแยกออกมาปรับให้เป็นกลางด้วยสารละลาย  NH3  จะได้ตะกอน  จากนั้นนำตะกอนไปเผาจะได้  Nb2O5
            สำหรับ  Ta  ที่ยังละลายอยู่ในสารละลายเมธิลไอโซบิวทิลคีโตน    ซึ่งสามารถแยกออกมาได้โดยการผ่านไอน้ำเข้าไปละลาย  Ta  ออกมาในรูปของ  H2TaF7  จากนั้นเติมสารละลาย NH3  จะได้ตะกอน เมื่อนำไปเผาจะได้ Ta2Oหรือถ้านำ Ta ที่ละลายอยู่ในชั้นของน้ำมาเติมสารละลาย  KCl  ทำให้ตกผลึกในรูป  K2TaF7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น