หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

แร่พลวง



พลวง (Sb)
พลวงเงิน จะพบในแร่สติบไนต์ ( Sb 2O 3 ) และพลวงทอง จะพบในแร่สติบิโคไนต์ ( Sb 2O 4 . nH 2O ) ซึ่งจะพบทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากสินแร่พลวงส่วนใหญ่ เป็นสารประกอบซัลไฟด์ จึงต้องเปลี่ยนให้เป็นออกไซด์ แล้วจึงรีดิวซ์ออกไซด์ให้ได้พลวงต่อไป การถลุงพลวงจะแตกต่างกันตามคุณภาพของแร่

ขั้นตอนการถลุงแร่ 

มีดังนี้
ขั้นที่ 1 ย่างแร่ คือ การนำแร่พลวงที่เป็นซัลไฟต์มาทำให้เป็นออกไซด์ ด้วยการนำแร่สติบไนต์ไปเผากับก๊าซออกซิเจน เกิดปฏิกิริยาดังนี้
2Sb 2S 3 (s) + 9O 2 (g) ---------> 2Sb 2O 3 (s) + 6SO 2 (g)
ขั้นที่ 2 การแยกโลหะพลวงออกจากออกไซด์พลวง ผสมออกไซด์ของพลวง ถ่านหิน และโซเดียมคาร์บอเนต ในอัตราส่วน 20 : 4 : 1 โดยมวล ใส่ในเตาถลุงแบบนอนที่อุณหภูมิประมาณ 800 – 900 องศาเซลเซียส โดยใช้น้ำมันเตาหรือลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง เกิดปฏิกิริยาดังนี้
2C (s) + O 2 (g) ----------> 2CO (g)
2Sb 2O 3 (s) + 3CO (g) -----------> 2Sb (s) + 3CO 2 (g)
โซเดียมคาร์บอเนตที่ผสมใส่ลงไปถลุงเพื่อแยกสารปนเปื้อนต่าง ๆ ออกเป็นกากตะกอนลอยอยู่ผิวบนของโลหะหลอมเหลวที่ถลุงได้ ธาตุพลวงเหลวลงสู่เบ้าเหล็กหล่อเป็นแท่ง

การนำพลวงไปใช้ประโยชน์
โดยนำไปผสมกับโลหะอื่นเป็นโลหะผสม เช่น พลวงผสมกับตะกั่วและดีบุก เป็นโลหะผสมเพื่อทำตัวพิมพ์โลหะ พลวงผสมกับตะกั่วเพื่อทำแผ่นตะกั่วในแบตเตอรี่ พลวงเป็นส่วนผสมของหัวกระสุนปืน พลวงใช้ในอุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมสี และอุตสาหกรรมเซรามิกส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น