หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

ปุ๋ยผสม


ปุ๋ยผสม หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากการนำเอาปุ๋ยตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาผสมกัน เมื่อผสมแล้ว อาจมีธาตุหลัก (primary nutrient) เพียงธาตุเดียวก็ได้ เช่น การนำเอา MgSO4.7H2O มาผสมกับ triple supper phosphate (TSP) เป็นต้น
ข้อดีของปุ๋ยผสม
  • มีธาตุอาหารหลายธาตุในหีบห่อเดียวกัน ทำให้สะดวกต่อการขนส่งและการใช้
  • ปุ๋ยผสมมีสมบัติทางกายภาพดี ลดปัญหาการดูดความชื้น และการจับตัวกันเป็นก้อน ปุ๋ยเม็ดที่จับตัวกันเป็นก้อนจะสร้างปัญหาให้กับเครื่องหว่านปุ๋ยมาก
  • สามารถผลิตให้เหมาะกับชนิดของพืชที่ปลูก และชนิดของดินที่เกษตรกรครอบครองอยู่ ง่ายต่อการแนะนำเกษตรกร
ปัจจัยในการเลือกวัตถุดิบ
  • ปริมาณธาตุอาหารในวัตถุดิบ
  • ราคาต่อหน่วยของธาตุอาหาร
  • ชนิดของสารประกอบในวัตถุดิบ เช่น อยู่ในรูป urea NH4NO3 CaHPO4 หรือ K2SO4 เป็นต้น
  • ความเข้มข้นของสารพิษในวัตถุดิบ
  • ความเป็นประโยชน์ต่อพืช (availability)
  • ธาตุอาหารอื่นนอกเหนือจาก primary nutrient
  • ความชื้น
  • Hygroscopicity (critical humidity)
  • การเกิดปฏิกริยากับสารชนิดอื่นที่นำมาผสม
  • ความร้อนของปฏิกริยา
  • ขนาดอนุภาคของวัตถุดิบ
  • ผลกระทบต่อสมบัติทางกายภาพของ product
ปฏิกริยาเคมีที่อาจเกิดขึ้นในการผสมปุ๋ย
Double decomposition
CaH4(PO4)2    +    (NH4)2SO4      ------>   2NH4H2PO4    +    CaSO4
NH4NO3    +    KCl      ------>  NH4Cl    +    KNO3
(NH4)2SO4    +    2KCl      ------>  2NH4Cl    +    K2SO4
อัตราเร็วของปฏิกริยาเหล่านี้ขึ้นกับขนาดของเม็ดปุ๋ย ไม่ทำให้สูญเสียธาตุอาหาร แต่ความร้อนจากปฏิกริยาอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้หากปุ๋ยผสมมีปริมาณมากและเก็บแบบเทกอง
Hydration
CaSO4    +    2H2O     ------>   CaSO4.2H2O
CaHPO4    +    2H2O      ------>   CaHPO4.2H2O
MgNH4PO4    +    6H2O      ------>  MgNH4PO4.6H2O
(NH4)2SO4    +    CaSO4    +    H2O    ------>    (NH4)2SO4.CaSO4.H2O
K2SO4    +    CaSO4    +    H2O     ------>    K2SO4.CaSO4.H2O
ปฏิกิริยา hydration มีข้อดีที่ทำให้ปุ๋ยที่ผลิตได้แห้งเร็ว ไม่จับเป็นก้อนแข็งในภายหลัง ปฏิกริยานี้เกิดได้ดีที่อุณหภูมิต่ำกว่า 50 องศาC
Decomposition
NH2CONH2    +    N2O     ------>     2NH3    +    CO2
(NH4)2HPO4      ------>    NH4H2PO4    +    NH3
ปฏิกริยาทั้งสองจะทำให้เกิดการสูญเสีย N ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยผสม TSP หรือ OSP ลงไปด้วย 
NH4H2PO4    +    CaSO4    +    NH3 ------>   CaHPO4    +    (NH4)2SO4
Ca(H2PO4)2    +    NH3     ------>    CaHPO4    +    NH4H2PO4
ในกรณีของ DAP ถ้ามี MAP อยู่จะทำให้ปฏิกริยาหันกลับ
NH4H2PO4    +    NH3     ------>   (NH4)2HPO4
Adduct formation
Ca(H2PO4)2.H2O    +    4NH2CONH2    ------>    Ca(H2PO4)2.4NH2CONH2    +    H2O
ปฏิกริยานี้ทำให้ปุ๋ยชื้น
Mixing Process
Ammoniation  Ammoniation หมายถึง การนำแม่ปุ๋ยมาผสมกันในอัตราส่วนต่าง ๆ รวมทั้งสารถ่วง (filler) และ/หรือสารแต่งเติม (fertilizer additive) แล้วพ่นสารละลาย NH3 ลงไปให้ปุ๋ยชื้นก่อนนำไปปั้มเม็ด แม่ปุ๋ยที่นิยมใช้ ได้แก่
  • แม่ปุ๋ย N : NH2CONH2, (NH4)2SO4
  • แม่ปุ๋ย P : TSP
  • แม่ปุ๋ย K : KCl, K2SO4
การผสมโดยกระบวนการนี้มีปฏิกริยาต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมาก โดยเฉพาะ 2 ชั่วโมงแรกหลังผสม ทำให้องค์ประกอบทางเคมีของปุ๋ยผสมที่ได้หลากหลาย
Ca(H2PO4)2.H2O    +    2(NH4)2 SO4      =     2NH4H2PO4 + (NH4)2SO4.CaSO4.H2O
CaSO4    +    (NH4)2 SO4    +    H2O      =     (NH4)2SO4.CaSO4.H2O
2KCl (NH4)2 SO4 + CaSO4 + H2O
K2SO4.CaSO4.H2O + 2NH4Cl
H3PO4 + NH3 NH4H2PO4
KCl + NH4H2PO4 KH2PO4 + NH4Cl
ในกระบวนการผลิตปุ๋ยผสมแบบ ammonia Hon นอกจากใช้ NH3 Solution แล้วยังอาจใช้ H3PO4 H2SO4 หรือไอน้ำ แทนก็ได้ โดยอาจใช้สารตัวใดตัวหนึ่งหรือใช้ผสมกัน ทำให้กระบวน การนี้ผลิตปุ๋ยผสมได้หลากหลายสูตรตามความต้องการของตลาด หรือของผู้ใช้
Bulk blending
Bulk blendingหมายถึง การนำเอาแม่ปุ๋ยที่ปั้มเม็ดแล้วมาผสมกัน เชิงกล (mechamical mixing) เพื่อให้ได้สัดส่วนของธาตุอาหารตามต้องการ
ข้อดีของวิธี bulk blending
  •  ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงงานต่อ
  •  ต้นทุนในการผลิตต่ำ
ข้อเสียของวิธี bulk blending
  • ปุ๋ยผสมที่ได้มีแนวโน้มแยกจากกันในระหว่างบรรจุกระสอบ และขนส่ง โดยเฉพาะเมื่อแม่ปุ๋ยแต่ละชนิดมีขนาด รูปร่าง และความหนาแน่นต่างกันมาก
  • ยากต่อการผสมปุ๋ยปริมาณน้อย ๆ เช่น ปุ๋ยจุลธาตุลงไปในแม่ปุ๋ยที่มีปริมาณมาก เพื่อให้ได้ส่วนผสมที่กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ยากต่อการกำหนดสูตรปุ๋ยที่แน่นอน โดยเฉพาะเมื่อแม่ปุ๋ยที่นำมาผสมแยกจากกันได้ง่าย
  • ไม่เหมาะกับแม่ปุ๋ยที่เกิดปฏิกริยาเคมีระหว่างกัน ทำให้จำนวนแม่ปุ๋ยที่สามารถนำมาผสมได้มีจำนวนจำกัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น